การออกแบบ ปรับปรุง สร้างแบบจำลอง 3D เสมือนจริง เพื่อคุณภาพแสงสว่าง และการอนุรักษ์พลังงาน

ใช้โปรแกรม : DIALux


วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้พื้นฐานเรื่องการออกแบบระบบไฟฟ้าส่องสว่างในอาคาร / นอกอาคาร / สนามกีฬา / ถนนเทคนิคการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ และสร้างแบบจำลอง 3 มิติ เสมือนจริงของระบบไฟฟ้าส่องสว่างและเทคนิคการออกแบบ / ปรับปรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่างเพื่อให้ได้ระบบที่มีทั้งคุณภาพของแสงสว่างและประหยัดพลังงาน
  • เพื่อพัฒนาความรู้ให้ทันสมัยและรู้เท่ากันโลกกับผลิตภัณฑ์ใหม่, เทคโนโลยี และนวัตกรรมรูปแบบใหม่ และเตรียมพร้อมกับวิธีใหม่ของการออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่กำลังเข้ามาแทนที่
  • เพื่อให้ช่างสถาปัตย์ / ไฟฟ้า / โยธา และผู้ที่ต้องควบคุมงานในส่วนงานขององค์กรทั้งเอกชน, รัฐวิสาหกิจและรัฐบาล สามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาภารกิจงานต่างๆ ที่รับผิดชอบให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อลดค่าใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน และเวลาทำงาน ในเรื่องการออกแบบและการอนุรักษ์พลังงาน

    คุณสมบัติหลักสูตร

    เป็นโปรแกรมสำหรับออกแบบงานระบบไฟฟ้าส่องสว่าง Electrical Lighting System สามารถสร้างแบบจำลอง 3 มิติ เสหมือนจริงได้ ใช้งานง่ายและเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดทั่วโลก ช่วยให้งานออกแบบ/ปรับปรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่างทำได้สะดวก, รวดเร็วและใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น
  • รองรับการออกแบบระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ทั้งในอาคาร / นอกอาคาร / ถนน (Interior / Exterior / Street Lighting)
  • สามารถเชื่อมข้อมูลสเปคจริงของโคมไฟฟ้าต่างๆ ของผู้ผลิตทั้งหลายได้โดยอัตโนมัติ
  • สามารถปรับแต่งค่าตัวแปรต่างๆ ทางแสงสว่างขอโคมไฟฟ้าและของลักษณะวัสดุอาคาร/ถนน ได้เสมือนจริงตรงตามลักษณะโคมจริง และวัสดุอาคารและถนนจริง
  • มีระบบการคำนวณและสร้างรายงานการออกแบบที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ตรงตามหลักวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าส่องสว่าง
  • สามารถสร้างแบบจำลอง 3 มิติ ในรูปแบบที่เป็นไฟล์ภาพนิ่ง และไฟล์คลิป Video ได้ง่าย
  • สามารถรับส่งข้อมูลต่างๆ กับไฟล์แบบ AutoCAD หรือ CAD อื่นๆ ได้ด้วย
  • และมีฟังก์ชั่นการประมวลผลแสดงข้อมูลการอนุรักษ์พลังงาน

    เหมาะสำหรับ

  • ช่างสถาปัตย์, ไฟฟ้า, โยธา ทั้งหน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานราชการ และผู้สนใจทั่วไป
  • ผู้ที่ทำงานเกี่ยข้องกับการออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ในอาคาร, นอกอาคาร, ถนน
  • รายละเอียด/เอกสารเพิ่มเติม
    อาจารย์ผู้สอน : คุณสาโรจน์ ไพชยนต์ฤทธา
    ระยะเวลาอบรม : 3 วัน
    ค่าลงทะเบียน : 13,000 บาท
    สิ่งที่ต้องนำมา : คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค

    รายละเอียดหลักสูตร
    คู่มือ DIALux ภาษาอังกฤษ

    หัวข้ออบรมแต่ละวัน

    วันที่ รายละเอียด
    1
    เทคโนโลยีไฟฟ้าแสงสว่าง และการติดตั้งใช้งาน DIALux เบื้องต้น ความรู้ทั่วไปของเทคโนโลยีไฟฟ้าส่องสว่างที่จำเป็น
    การวัดค่าแสงสว่าง, ศัพท์เฉพาะและหน่วยวัดของแสงต่างๆ เพื่อใช้ในโปรแกรม DIALux
  • ทบทวนความรู้เรื่อง Glare แสงจ้า หน่วยวัดและวิธีการวัดค่าแสงจ้า
  • ทบทวนความรู้เรื่องหลอดไฟฟ้าแบบดั้งเดิม การแบ่งประเภท, คุณสมบัติและวิธีเลือกใช้แบบดั้งเดิม
  • อัพเดทเทคโนโลยีล่าสุดของหลอดไฟฟ้าแบบ LED และมาตรฐานการวัดทางแสงแบบใหม่ของ LED Lighting
  • อัพเดทเทคโนโลยีใหม่ของหลอดไฟฟ้าแบบอื่นๆ เช่น LED RGB Strip, Induction Lamp, LEC Panel ฯลฯ
  • ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเปรียบเทียบคุณสมบัติของหลอดไฟฟ้าแบบใหม่กับแบบดั้งเดิม
  • ทบทวนความรู้เรื่องโคมไฟฟ้า ประเภท/ชนิดต่างๆ แบบดั้งเดิม และเทคโนโลยีโคมไฟฟ้าแบบใหม่
  • ทบทวนวิธีอ่านและแปลความหมายของกราฟโฟโต้เมตริกดาต้าชีท ของโคมไฟฟ้าแบบต่างๆ
  • ตัวอย่างโฟโต้เมตริกดาต้าชีทจริงของโคมไฟฟ้าที่นิยมใชักันในประเทศไทย - แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ Lighting Technology เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าส่องสว่างจากอินเตอร์เน็ต หลักการและขั้นตอนใหม่และแนวคิดใหม่ ในการออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างในอาคาร
  • หลักคิดในการออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ดีเพื่อคุณภาพของแสงสว่างแบบใหม่
    หลักคิดในการออกแบบสำหรับสำนักงานที่ต้องทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ๆ
  • หลักคิดในการออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ดีเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
  • ตารางค่ากำหนดแบบใหม่สำหรับงานออกแบบงานแสงสว่าง
  • ขั้นตอนของการสร้างแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างอาคารยุคใหม่เมื่อใช้ซอฟท์แวร์ช่วย การติดตั้งและใช้งานโปรแกรม DIALux เบื้องต้น
  • คุณสมบัติของโปรแกรม DIALux / วิธีติดตั้งโปรแกรม DIALux / วิธีติดตั้ง DIALux Plugin ฐานข้อมูลโคมไฟฟ้าจากผู้ผลิตยี่ห้อต่างๆ
  • โฟล์เดอร์, ไฟล์โปรแกรมและไฟล์ไลบรารี่/ เมนูคำสั่ง อินเตอร์เฟสคำสั่ง, เครื่องมือช่วยต่างๆในการวาดแบบ, วิธีตั้งค่าควบคุมระบบ
  • ไฟล์Help กับข้อมูลสำคัญของการออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่าง / วิธีออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างแบบลัดสั้น Lighting Wizard Workshop: ผู้เรียนจะได้ฝึกติดตั้งโปรแกรม DIALux และติดตั้งโปรแกรม Plugin ฐานข้อมูลโคมไฟฟ้าของบริษัทผู้ผลิตหลอดไฟฟ้า และโคมไฟฟ้าหลักทั้งสี่ และฝึกการใช้งาน DIALux เบื้องต้นด้วย Ligthing Wizard ไฟล์.ies -ไฟล์ข้อมูลโฟโต้เมตริกซ์ของโคมไฟ
  • โครงสร้างข้อมูลและฟอร์แมทของไฟล์.ies
  • วิธีสร้างไฟล์ .ies และวิธีดัดแปลงไฟล์ .ies จากไฟล์ .ies ของโคมไฟที่มีสเปคเทียบเท่ากัน
  • วิธีใช้โปรแกรม IESview ช่วยอ่านและแสดงแบบจำลอง 3D ข้อมูลทางแสงสว่างจากไฟล์ .ies / วิธีเรียกใช้ไฟล์.ies กับโปรแกรม DIALux Workshop: ผู้เรียนจะได้ฝึกใช้โปรแกรม IESview อ่านไฟล์ข้อมูล.ies และทดลองดัดแปลงไฟล์ .ies ให้มีข้อมูลบางส่วนเป็นไปตามต้องการ
  • 2
    DIALux – Interior Lighting Design
    การออกแบบและสร้างแบบจำลอง - "ระบบไฟฟ้าส่องสว่างภายในอาคาร Interior Lighting"
  • วิธีเซ็ตอัพค่าเริ่มต้นโปรแกรม DIALux และเคล็ดลับการปรับแต่งทูลบาร์ให้สะดวกแก่การใช้งาน เทคนิค-คำสั่ง-วิธีเลือกรายการโคมไฟฟ้า
  • เทคนิควิธีเลือกโคมไฟฟ้าจาก DIALux Plugin / เทคนิควิธีเลือกโคมไฟฟ้าจากไฟล์.IES และไฟล์ .LDT
  • เทคนิควิธีสร้างข้อมูล My Database รายการโคมไฟฟ้าของฉัน เทคนิค-คำสั่ง-วิธีสร้างโมเดลพื้นที่ภายในอาคาร
  • เทคนิควิธีใช้คำสั่งและเครื่องมือสร้างโมเดลสามมิติ CAD ของพื้นที่ภายในอาคาร
  • เทคนิควิธีอิมพอร์ตไฟล์ .dwg เพื่อสร้างโมเดลสามมิติ CAD ของพื้นที่ภายในอาคาร
  • เทคนิควิธีกำหนดค่าคุณสมบัติการสะท้อน / ทะลุ / ขรุขระ / กระจก ให้กับส่วนประกอบต่างๆของพื้นที่ภายในอาคาร
  • เทคนิคการสร้างประตู, หน้าต่าง, เฟอร์นิเจอร์ และส่วนประกอบอื่นๆ ภายในอาคารด้วยไลบรารี่ 3D ของ DIALux
  • เทคนิควิธีอิมพอร์ตไฟล์ .3DS ที่สร้างจากโปรแกรม Google SketchUp, 3Dmax, 3Dstudio และจากคลังโมเดลในอินเตอร์เน็ต สร้างเป็นเฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบอื่นๆ ภายในอาคาร
  • เทคนิคการสร้างผิวพื้น texture ให้กับเฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบภายในอาคาร
  • เทคนิคการกำหนดสีให้กับพื้นผิวทั้งหลายของห้องและเฟอร์นิเจอร์ และวิธีกำหนดค่าสีตามมาตรฐาน RAL
  • เทคนิคการกำหนดค่าสปส สะท้อน / ทะลุ / ขรุขระ / กระจก ให้กับพื้นผิวทั้งหลาย เทคนิค-คำสั่ง-วิธีจัดโคมไฟฟ้าภายในอาคาร
  • เทคนิควิธีจัดโคมไฟฟ้าพร้อมการคำนวณค่าความสว่างอัตโนมัติ แบบต่างๆ ได้แก่ แบบ single, แบบ field arrangement, แบบ circular arrangement, แบบ line arrangement, แบบ direct planar lighting และแบบ vertical planar lighting
  • เทคนิควิธีปรับแต่งตำแหน่งและมุมยิงโคมไฟฟ้าสปอตไลท์ และการจำลองแสงเงาสปอตไลท์แบบ 3D อย่างรวดเร็ว เทคนิค-คำสั่ง-วิธีคำนวณผลลัพธ์ทางแสงสว่าง
  • เทคนิควิธีสร้าง Daylight Simulation แบบจำลอง 3D ของแสงแดดส่องภายในอาคาร ด้วยข้อมูลจริงของเส้นรุ้ง, เส้น แวงและเวลา/วัน/เดือน/ปี
  • เทคนิควิธีสร้าง light scene เพื่อสร้างแบบจำลองการเปิด/ปิด/หรี่ โคมไฟฟ้าแบบแยกกลุ่มเป็นหลายวงจร
  • เทคนิควิธีสร้างแบบจำลอง 3D True Color Rendering แสดงความสว่างด้วยแสงสีเสมือนจริงบนแบบ CAD สามมิติ
  • เทคนิควิธีสร้างแบบจำลอง 3D False Color Rendering แสดงค่าความสว่าง Lux เป็นระดับเฉดสี บนแบบ CAD สามมิติ
  • เทคนิควิธีสร้างแบบจำลอง 3D ISOLINE LUX แสดงค่าความสว่าง ด้วยเส้นระดับ Lux บนแบบ CAD สามมิติ
  • Workshop: ฝึกเทคนิคและวิธีเลือกข้อมูลโคมไฟ, ฝึกออกแบบการสร้างแบบจำลองห้องต่างในอาคาร, ฝึกสร้างแบบจำลองห้องจากไฟล์แบบแปลน .dwg, ฝึกเทคนิคและลูกเล่นการใช้คำสั่ง insert luminaire แบบต่างๆ, ฝึกการคำนวณผลและสร้างทำ simulation แบบ true color rendering, false color rendering และสร้าง isoline flux diagram, ฝึกการทำ daylight simulation และเรื่องราวอื่นๆ ตามหัวข้อข้างต้น จากไฟล์ตัวอย่างงานออกแบบภายในอาคารทั้งหลาย ดังรายการในตอนท้าย
    3
    DIALux - Exterior & Sport Lighting Design
    วิธีออกแบบและสร้างแบบจำลอง "ระบบไฟฟ้าส่องสว่างภายนอกอาคาร Exterior Lighting และ Sport Stadium สนามกีฬา”
  • เรียนรู้วิธีเลือกใช้โคมไฟฟ้าแบบต่างๆ สำหรับงานภายนอกอาคาร
  • เรียนรู้วิธีสร้างโมเดลอาคาร, วัด, สถูป, เวทีจัดงานประจำปี ฉาก และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
  • เรียนรู้วิธีสร้างแบบจำลองสภาพแวดล้อมประกอบอาคาร เช่น ต้นไม้ น้ำพุ สระน้ำ เนินเขา ฯลฯ
  • วิธีทำ simulation ภาพเสมือนจริงแบบ 3D ของการส่องสว่าง
  • วิธีประมวลผลและวิเคราะห์ค่าต่างๆ ของการประหยัดพลังงาน
  • เรียนรู้วงจรควบคุมโคมไฟฟ้าแบบต่างๆ ที่ใช้ภายนอกอาคาร เพื่อความปลอดภัย
  • เรียนรู้เทคนิคการออกแบบเพื่อการประหยัดพลังงานนอกอาคาร
  • เรียนรู้เทคนิคการเลือกโคมไฟฟ้าให้ปราศจากแมลงรบกวน Workshop: ผู้เรียนจะได้เลือกฝึกการสร้างแบบจำลอง Exterior Scene ขององค์ประกอบของสถานที่นอกอาคาร และออกแบบโคมไฟแสงสว่างนอกอาคาร ฝึกออกแบบโคมไฟสนามกีฬาด้วยเทคนิคพิเศษ Floodlight Arrangement จากไฟล์ตัวอย่างงานออกแบบภายนอกอาคารทั้งหลาย ดังรายการในตอนท้าย วิธีออกแบบและสร้างแบบจำลอง - "ระบบไฟฟ้าส่องสว่างของถนน Street Lighting" ได้แก่ เรียนรู้จากแบบฝึกหัดทดลองปฏิบัติจริง Workshop ของการออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างถนนตอนกลางคืน
  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมาตรฐานการออกแบบระบบไฟฟ้าส่องสว่างของถนน เพื่อความปลอดภัย
  • เรียนรู้วิธีเลือกใช้โคมไฟฟ้าแบบต่างๆ สำหรับงานถนน / เรียนรู้วิธีใช้ Wizard ออกแบบถนน อย่างลัดสั้นรวดเร็ว
  • เรียนรู้คำสั่งสร้างโมเดลถนนและส่วนประกอบหลักของถนน เช่น เกาะกลาง ฟุตบาท เลนจักรยาน เป็นต้น
  • วิธีทำ simulation ภาพเสมือนจริงแบบ 3D ของการส่องสว่าง / วิธีประมวลผลและวิเคราะห์ค่าต่างๆ ของการประหยัดพลังงาน
  • เรียนรู้วงจรควบคุมโคมไฟฟ้าแบบต่างๆ ที่ใช้กับถนน และเทคนิคการประหยัดพลังงาน
    Workshop: ผู้เรียนจะได้ฝึกสร้างแบบจำลองถนนและทางหลวงขนาดต่างๆ ฝึกเทคนิคการใช้เครื่องมืออัตโนมัติที่ใช้ช่วยจัดโคมไฟถนนเพื่อให้ได้ค่าความสว่างตามเกณฑ์มาตรฐานสากล ฝึกสร้างแบบจำลองทางแสงและคำนวณผลลัพธ์ทางแสงสว่างและผลลัพธ์ทางการอนุรักษ์พลังงาน การประมวลผลขั้นสุดท้าย, การออกรายงาน และส่งข้อมูลไปยังโปรแกรมอื่น การสร้างไฟล์คลิปวิดีโอ ได้แก่
  • วิธีสร้างไฟล์คลิปวีดีโอเสมือนจริง 3D Photo Realistic Video ของระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ออกแบบได้
  • รูปแบบรายงานการออกแบบและตารางผลการวิเคราะห์ลักษณะต่างๆ
  • วิธีสร้างกลุ่มรายงานมาตรฐานและวิธีพิมพ์รายงานออกเป็นไฟล์เอกสาร.pdf
  • คำสั่งประมวลผลการประเมินประสิทธิภาพพลังงานของอาคาร
  • การExportแบบจำลองระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ได้เป็นไฟล์แบบ AutoCAD / การ Exportข้อมูลระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ได้ออกเป็นไฟล์เอ็กเซล
    Workshop: ผู้เรียนจะได้ฝึกประมวลผลขั้นสุดท้าย ฝึกออกรายงานแบบต่างๆ เป็นไฟล์.pdf ฝึกสร้างไฟล์คลิปวิดีโอ ฝึกปรับแต่งแนวกล้องเดิน และมุมโฟกัสกล้อง ฝึกการประมวลผลเป็นไฟล์คลิป และฝึกใช้โปรแกรมช่วยลดขนาดไฟล์คลิปวิดีโอ โดยใช้ข้อมูลที่ได้ออกแบบไว้แล้วในวันก่อนๆ