บูรณาการทุกส่วนงานออกแบบก่อสร้างด้วยระบบ BIM
Integrate Project Delivery (IPD) with building information system (BIM)

ใช้โปรแกรม : Autodesk revit


การออกแบบโดยใช้ซอฟท์แวร์ที่เป็นระบบ BIM มีหลายตัว คือ Revit, ArchiCAD ฯลฯ ซึ่งมีข้อดี คือ สามารถสร้างแบบทุกด้านพร้อมกันได้ และ เมื่อมีการแก้ไขที่ด้านใดด้านหนึ่ง จะแก้ไขแบบด้านอื่นไปด้วยพร้อมกัน ทำให้ขจัดช้อผิดพลาดในการออกแบบได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ด้านวิธีการสำหรับสร้างแบบจำลองอาคาร 3D อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบ BIM บนคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
  • เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ด้านวิธีการสำหรับสร้างแบบก่อสร้าง 2D โดยอัตโนมัติ จากแบบจำลองอาคาร 3D ด้วยระบบ BIM ไปยัง AutoCAD ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว กว่าระบบเดิมหลายเท่า ทั้ง แปลน รูปด้าน รูปตัด แบบขยาย บนคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง และ ครบถ้วนสมบูรณ์
  • เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ด้านวิธีการสำหรับคำนวนข้อมูลปริมาณวัสดุโดยอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว จากแบบจำลองอาคาร 3D ด้วยระบบ BIM บนคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
  • เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ด้านวิธีการสำหรับสร้าง Timeline เพื่อควบคุมงานก่อสร้าง พร้อมทั้งจำลองความคืบหน้าเป็นแบบจำลองอาคาร 3D ด้วยระบบ BIM บนคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
  • สถาปนิก วิศวกร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายก่อสร้าง หรือผู้เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้าง ในส่วนงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนราชการ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาภารกิจงานต่างๆ ที่รับผิดชอบให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ สอดคล้องกับระบบ BIM ซึ่งจะใช้เป็นมาตราฐาน ทั้งในภูมิภาคอาเซียน และ ในระดับมาตราฐานอุตสาหกรรมก่อสร้างระดับโลกต่อไป
  • เพื่อลดระยะเวลาการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดสร้างแบบจำลองอาคาร 3D การผลิตแบบก่อสร้าง การถอดปริมาณวัสดุ การควบคุมวางแผนดำเนินงานก่อสร้าง

    คุณสมบัติหลักสูตร

    งานออกแบบก่อสร้างที่ผ่านมา จะเกิดความผิดพลาดของ งานแบบ และ งานถอดปริมาณวัสดุ ในระดับที่สูงมาก ทั้งนี้ เนื่องจากแบบแต่ละด้าน เขียนคนละครั้ง ขาดความเชื่อมโยงกัน ความผิดพลาดของแบบส่งผลต่อระยะเวลา และ ต้นทุนในการก่อสร้างเป็นอย่างมาก อุตสาหกรรมก่อสร้างในระดับสากลได้พยายามหาทางแก้ไข จนได้พัฒนามาเป็นระบบ BIM ซึ่งใช้กันในปัจจุบัน และ ได้กลายเป็นมาตราฐานสากล ดังเช่น
  • ในสหรัฐอเมริกา มีการใช้ BIM ถึง 70% ของงานก่อสร้างทั้งหมด
  • ในสิงคโปร์ ได้มีกฎหมายให้การยื่นแบบอนุมัติ ต้องส่งเป็นข้อมูลแบบ BIM
  • ในเวียดนาม โครงการขนาดใหญ่ทั้งหมด มีข้อกำหนดให้ใช้ BIM ทั้งส่วนออกแบบ และ ควบคุมงาน
    ปัจจัยสำคัญที่สุดที่วงการก่อสร้างเปลี่ยนมาใช้ BIM คือ การลด และ การควบคุม ต้นทุนก่อสร้าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ทราบว่า ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากส่วนใด หรือ ขั้นตอนใด ของการก่อสร้างได้อย่างชัดเจน

    เหมาะสำหรับ

  • สถาปนิก วิศวกร เจ้าหน้าที่ฝ่ายออกแบบ และ ควบคุมงาน
  • ฝ่ายก่อสร้าง ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้าง ในส่วนงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนราชการ และ ฝ่ายจัดทำงบประมาณ
  • รายละเอียด/เอกสารเพิ่มเติม
    อาจารย์ผู้สอน : คุณสุรพล เลิศดำรงชัย
    ระยะเวลาอบรม : 5 วัน
    ค่าลงทะเบียน : 16,000 บาท
    สิ่งที่ต้องนำมา : คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค

    เอกสารดาวน์โหลด

    หัวข้ออบรมแต่ละวัน

    วันที่ รายละเอียด
    1
    การใช้ BIM ในการนำเสนอโครงการ
  • ความเป็นมาของเทคโนโลยี Building Information Modeling (BIM)
  • การตีขอบเขตแนวที่ดิน การกำหนดแนวร่นจากที่ดิน
  • การสร้าง Mass อาคาร
  • การหาพื้นที่ใช้งานของอาคาร
  • การจำลองผลกระทบต่อพื้นที่โดยรอบ
  • การออกแบบพื้นที่รอบอาคาร (Site topology & site design)
  • 2
    การใช้ BIM ในการออกแบบงานสถาปัตยกรรม
  • การสร้างส่วนอาคารภายนอก
  • การสร้างส่วนอาคารภายใน
  • การสร้าง ประตู หน้าต่าง
  • การสร้าง บันได ทางลาด ราวกันตก
  • การสร้างแบบจากโมเดล BIM สามมิติ และ ส่งแบบไปยัง AutoCAD ทั้ง แปลน รูปด้าน รูปตัด แบบขยาย
  • การคำนวนปริมาณวัสดุจากโมเดล BIM สามมิติ และ ส่งตารางไปยัง Excel
  • 3
    การใช้ BIM ในการออกแบบ และ วิเคราะห์ งานโครงสร้าง
  • การใส่โครงสร้างซ้อนกับโมเดลสถาปัตยกรรม
  • การใส่เหล็กเสริมแบบสามมิติ
  • การใส่แรงกระทำต่ออาคารในรูปแบบต่างๆ
  • การวิเคราะห์ความแข็งแรงของอาคารแบบสามมิติ
  • การนำผลวิเคราะห์มาเพิ่มหรือลดโครงสร้างให้เหมาะสม
  • การคำนวนปริมาณโครงสร้างที่ใช้ในการสร้างอาคาร
  • 4
    การใช้ BIM ในการออกแบบ และ วิเคราะห์ งานระบบอาคาร
  • การออกแบบงานระบบปรับอากาศ
  • การออกแบบงานระบบเครื่องกลควบคุมอาคาร
  • การออกแบบระบบงานสุขาภิบาลในอาคาร
  • การออกแบบระบบแสงสว่างในอาคาร
  • การออกแบบระบบงานไฟฟ้าในอาคาร
  • การคำนวนปริมาณวัสดุอุปกรณ์งานระบบอาคาร
  • 5
    การบริหารควบคุมงานก่อสร้างด้วย BIM
  • การสร้างตารางเวลางานก่อสร้าง
  • การเชื่อมข้อมูลตารางเวลากับโมเดลอาคารสามมิติ
  • การจำลองภาพสามมิติการขึ้นงานอาคารตามตารางเวลาที่กำหนด
  • การแก้ไขปรับปรุงตารางงาน และลำดับการจำลองความคิบหน้าอาคารไปพร้อมกัน
  • การตรวจหาจุดที่อาจมีการซ้อนทับกันของชิ้นส่วนอาคาร (Clash Detection)
  • การเก็บแบบไว้ที่เดียวบน Cloud และ ตรวจแบบผ่านอุปกรณ์โมบายต่างๆ