การใช้โปรแกรม AutoCAD Electrical และ P&ID (มาตรฐาน IEC และ ISA)

ใช้โปรแกรม : AutoCAD Electrical, AutoCAD P&ID


วัตถุประสงค์

  • หลักสูตรนี้เป็นการสอนการเขียนแบบไฟฟ้า ด้วยโปรแกรม AutoCAD Electrical ตามมาตรฐาน IEC ที่นิยมใช้กันทั่วไปในประเทศไทย พร้อมทั้งเพิ่มเติมการเขียนแบบผังควบคุม โปรเซส P&ID (Piping & Instrumentation Design) ตามมาตรฐาน ISA ให้ด้วย

    คุณสมบัติหลักสูตร

    ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรูปและฝึกทดลองปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • เรียนรู้และเข้าใจวิธีการเขียนแบบไฟฟ้าที่ถูกต้องตรงตามมาตรฐาน IEC
  • เรียนรู้เทคนิคการเขียนแบบ P&ID ด้วยโปรแกรม AutoCAD electrical ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ISA
  • สามารถเขียนแบบไฟฟ้าได้เร็วกว่าโปรแกรม AutoCAD พื้นฐานมากกว่าเดิม 2 เท่าถึง 10 เท่า
  • เรียนรู้เทคนิคการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการตรวจสอบความถูกต้องและระบุจุดผิดพลาดในแบบไฟฟ้า
  • เรียนรู้วิธีสร้างรายงาน/ตารางคำนวณแบบและถอดแบบต่างๆ โดยอัตโนมัติ
  • เรียนรู้เทคนิคการสร้างสัญลักษณ์อุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นใช้เองแบบรวดเร็ว
  • เรียนรู้เทคนิคกลเม็ดเคล็ดลับต่างๆ ของคำสั่งหลัก, คำสั่งคำนวณอัตโนมัติ และเครื่องมือวิเศษต่างๆ ของโปรแกรม
  • ย่อระยะเวลาในการเรียนรู้โปรแกรม AutoCAD Electrical จากหลายเดือนเหลือเพียง 1 สัปดาห์

    เหมาะสำหรับ

    วิศวกร และช่างเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการอกแบบและเขียนแบบไฟฟ้า ในงานระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรม ระบบควบคุมอัตโนมัติ และระบบเมคคาทรอนิคส์ เช่น งานระบบไฟฟ้า กำลังในโรงงาน, งานออกแบบ-สร้างตู้ควบคุมมอเตอร์กำลัง และอินเวอร์เตอร์ ต่างๆ, งานออกแบบ-สร้าง ระบบควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติด้วย PLC นิวแมติค และไฮดรอลิคส์, งานออกแบบ-สร้างระบบควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
  • รายละเอียด/เอกสารเพิ่มเติม
    อาจารย์ผู้สอน : คุณสาโรจน์ ไพชยนต์ฤทธา (ประวัติ)
    ระยะเวลาอบรม : 4 วัน
    ค่าลงทะเบียน : 16,000 บาท
    สิ่งที่ต้องนำมา : คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค

    รายละเอียดหลักสูตร
    จุดเด่น 12 ประการ
    Top 10 Reasons to move from AutoCAD to AutoCAD Electrical

    หัวข้ออบรมแต่ละวัน

    วันที่ รายละเอียด
    1
    วิธีติดตั้ง AutoCAD Electrical 2012 แบบมาตรฐาน IEC และคุณสมบัติของโปรแกรมฯ
  • สไลด์บรรยายสรุปคุณสมบัติของโปรแกรม AutoCAD Electrical
    >> workshop ทดลองติดตั้งโปรแกรม AutoCAD Electrical
    ทบทวนวิธีใช้โปรแกรม AutoCAD พื้นฐานที่จำเป็น
  • ทบทวนคำสั่งเขียนแบบสองมิติพื้นฐานที่จำเป็น
  • ทบทวนคำสั่งสร้าง Block ชนิดมี Attribute ด้วย AutoCAD
    >> workshop ทดลองสร้างและแก้ไข Block ชนิดมี Attribute
    วิธีใช้อินเตอร์เฟสของ AutoCAD Electrical
  • วิธีใช้เมนู, ทูลบาร์, ทูลแพลเลท และ Project Manager
  • วิธีเรียกคืนอินเตอร์เฟสของ AutoCAD Electrical เมื่อหายไป
    >> workshop ทดลองทำหายและเรียกคืนอินเตอร์เฟสของ AutoCAD Electrical
    วิธีใช้งาน Project Manager กับแบบไฟฟ้าที่มีอยู่แล้ว
  • วิธีสำรวจชุดแบบไฟฟ้าของโปรเจ็คที่สร้างเสร็จแล้ว
  • วิธีสร้าง Drawing List ตารางรายการแบบไฟฟ้า
  • วิธีพล็อตไฟล์แบบไฟฟ้าเป็นชุด Batch Plot
  • วิธีค้นหาอุปกรณ์และการเดินสายไฟที่เกี่ยวข้องกับแบบไฟฟ้าทั้งหมด
  • วิธีตรวจสอบความถูกต้องและชึ้ตำแหน่งจุดผิดพลาดของแบบไฟฟ้า
    >> workshop ทดลองสำรวจแบบไฟฟ้าและทดลองสั่งพิมพ์ BatchPlot จากไฟล์โครงการตัวอย่าง
    วิธีกำหนดมาตรฐานแบบไฟฟ้า
  • แบบไฟฟ้าตามมาตรฐาน IEC คืออะไร กำหนดและบังคับอะไรบ้าง
  • เทคนิคและวิธีกำหนดรูปแบบและโครงสร้างมาตรฐานให้กับ Title Block
  • วิธีกำหนดค่ามาตรฐานเริ่มต้นของแบบตามข้อกำหนดต่างๆ ของ IEC
  • เทคนิคการใช้คำสั่ง Project Properties และ Drawing Properties
    วิธีเซ็ตอัพ Title Block แบบคำนวณอัตโนมัติ
  • เทคนิคและวิธีสร้าง Title Block template
  • วิธีสร้างไฟล์ drawing template
  • วิธีสร้าง Title Block แบบอัตโนมัติ
    >> workshop ทดลองสร้างและแก้ไข Title Block อัตโนมัติ
    วิธีขี้นโปรเจ็คใหม่จากโปรเจ็คเท็มเพลต
  • เข้าใจองค์ประกอบของไฟล์โปรเจ็คเท็มเพลต
  • เทคนิคและวิธีสร้างไฟล์โปรเจ็คเท็มเพลต
  • เทคนิคและวิธีสร้างไฟล์แบบเริ่มต้นให้กับโปรเจ็คใหม่
    >> workshop ทดลองสร้างโปรเจ็คใหม่ ขึ้นจากโปรเจ็คเท็มเพลตตัวอย่าง
  • 2
    การสร้างแบบผังวงจร Schematic Drawing
    วิธีเขียนแบบการเดินสายไฟ
  • ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัญลักษณ์อุปกรณ์ตามมาตรฐาน IEC ที่จำเป็นต้องรู้ก่อนลงมือก่อนเขียนแบบ
  • เทคนิคและวิธีตั้งค่าสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเขียนแบบผังวงจรไฟฟ้า
  • เทคนิค และวิธีเขียนแบบที่เกี่ยวกับการเดินสายไฟ ได้แก่ การเดินสายไฟแบบเส้นเดี่ยว, การเดินสายไฟเมนสามเฟส, การเดินสายไฟเมนเฟสเดียว, การเดินสายไฟวงจรไฟฟ้ากำลัง, การเดินสายไฟวงจรควบคุม, การสร้างจุดข้ามสายและจุดเชื่อมสาย, การต่อ-ยืด-ตัด-โยง-ขยับ-ย้ายสายไฟ ฯลฯ -วิธีสร้างข้อมูลกำหนดขนาดสายไฟ
  • วิธีสร้างหมายเลขกำกับสายไฟ (เบอร์สายไฟ หรือ Wire Number) แบบอัตโนมัติ
    >> workshop ทดลองใช้คำสั่งต่างๆในหมวดการเดินสายไฟจากทูลแพแลท- Wire
    วิธีเขียนแบบสัญลักษณ์อุปกรณ์มาตรฐาน
  • วิธีเขียนแบบสัญลักษณ์อุปกรณ์ไฟฟ้ามาตรฐาน ได้แก่ การลงอุปกรณ์มอเตอร์เฟสเดี่ยวแบบต่างๆ, มอเตอร์สามเฟสแบบต่างๆ, แมคเนติคคอนแทคเตอร์แบบต่างๆ, รีเลย์แบบต่างๆ, สวิทช์-ปุ่มกด-ลิมิตสวิทช์-หน้าสัมผัส แบบต่างๆ, เบรคเกอร์เฟสเดียว/สามเฟสแบบต่างๆ, ทรานฟอร์มเมอร์แบบต่างๆ, คอนเน็คเตอร์/เทอร์มินอลแบบต่างๆ, ฯลฯ
  • วิธีกำหนดชื่อแท็ก Tag name และค่าตัวแปรอื่นๆ ให้กับสัญลักษณ์อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหลายในแบบ
  • วิธีกำหนดรหัส/หมายเลขกำกับให้กับขั้วต่อต่างๆ ของสัญลักษณ์อุปกรณ์ไฟฟ้า
  • วิธีแก้ไข-โยก-ย้าย-โยง-ขยับ-ปรับแต่งค่าต่างๆ ให้กับองค์ประกอบต่างๆ ของสัญลักษณ์อุปกรณ์ทั้งหลายที่มีอยู่แล้วในแบบ
  • วิธีสร้าง “รหัสอ้างอิงตำแหน่งอุปกรณ์” (Cross Referencing) แบบอัตโนมัติ
    >> workshop ทดลองสร้างแบบผังวงจรไฟฟ้ากำลังมอเตอร์สามเฟส พร้อมแมคเนติคคอนแทคเตอร์ ทรานฟอร์มเมอร์และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ
    >> workshop ทดสองสร้างแบบผังวงจรไฟฟ้าควบคุมด้วยรีเลย์/แมคเนติค พร้อมสวิทช์,ปุ่มกด,ลิมิตสวิทช์,เซนเชอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ
    >> workshop ทดสองสร้างแบบผังวงจรไฟฟ้าควบคุมด้วยรีเลย์/แมคเนติค พร้อมสวิทช์,ปุ่มกด,ลิมิตสวิทช์,เซนเชอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ
  • 3
    การสร้างแบบผังวงจร Schematic Drawing (ต่อ)
    เทคนิคการสร้างและใช้งานวงจรย่อยสำเร็จรูป
  • วิธีสร้างวงจรย่อยสำเร็จรูปจากแบบผังวงจรไฟฟ้าที่ได้สร้างไว้แล้ว เช่น วงจรย่อยมอเตอร์สามเฟสสตาร์เดลต้า
  • วิธีนำวงจรย่อยสำเร็จรูปไปเขียนเพิ่มเติมในแบบไฟฟ้าอื่นๆ
  • วิธีสร้างเคเบิ้ลมาร์คเกอร์ Cable Marker
  • วิธีสร้างตารางรายการงานเดินสายเคเบิ้ล Cable Connector List
  • วิธีสร้างสัญลักษณ์ Fan In/out , Source/Destination Signal
  • วิธีสร้างคอนเน็คเตอร์ Connector
  • วิธีเดินสายแบบบัสกับคอนเน็ตเตอร์
    >> workshop ทดลองสร้างแบบผังวงจรที่มีสัญลักษณ์คอนเน็คเตอร์, เคเบิลมาร์เกอร์, Source/Destination Signal, Fan In/Out
    วิธีเขียนแบบอุปกรณ์ PLC
  • วิธีสร้างแบบสัญลํกษณ์โมดูลหลัก PLC จากไลบรารี่สัญลักษณ์, เทคนิคและวิธีสร้างแบบสัญลักษณ์โมดูล I/O ต่างๆ ของ PLC
    >> workshop ทดลองสร้างแบบผังวงจร PLC และผังวงจรโมดูล PLC อินพุท/เอาท์พุท
    วิธีสร้างเทอร์มินอลและชุดเทอร์มินอลบล็อก และตารางรายการเดินสายชุดเทอร์มินอลบล็อก
  • เข้าใจคำสั่งสร้างเทอร์มินอลแบบต่างๆ , วิธีสร้างแบบชุดเทอร์มินอลบล็อกแบบรวดเร็วด้วยคำสั่งใหม่ Terminal Strip Editor
  • วิธีสร้างตารางรายการเดินสายชุดเทอร์มินอลบล็อก
    >> workshop ทดลองสร้างแบบชุดเทอร์มินอลบล็อกและสร้างแบบตารางรายการเดินสายชุดเทอร์มินอลบล็อก
    เทคนิคและวิธีสร้างสัญลักษณ์อุปกรณ์ขึ้นใช้เอง
  • เข้าใจองค์ประกอบของสัญลักษณ์อุปกรณ์ไฟฟ้าของ AutoCAD Electrical
  • เทคนิค-เคล็ดลับ-วิธีสร้างสัญลักษณ์อุปกรณ์ใหม่แบบรวดเร็ว, เทคนิคและวิธีสร้างไอคอนเมนูให้กับสัญลักษณ์อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นใหม่
    >> workshop ตัวอย่างการสร้างสัญลักษณ์อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้เอง เช่น สัญลักษณ์อินเวอร์เตอร์ สวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย เป็นต้น
  • 4
    การสร้างและใช้งานรายงานจากแบบผังวงจร Schematic Report
  • รู้จักกับรายงานจากแบบผังวงจร Schematic Report ประเภทต่างๆ และประโยชน์ของแต่ละรายงาน
  • ขั้นตอนและวิธีการสร้างรายงาน และวิธีเลือกประเภทรายงาน, วิธีกำหนดเงื่อนไขขอบเขตข้อมูลรายงาน
  • วิธีปรับแต่งฟอร์แมทรายงาน , วิธีสร้างตารางข้อมูลรายงานลงในแบบไฟฟ้า
  • วิธีสร้างรายงานเป็นไฟล์เอ็กเซลและไฟล์ดาต้าเบส
  • วิธีสร้างรายงานที่ใช้บ่อยๆ อาทิเช่น รายงานถอดแบบอุปกรณ์ไฟฟ้า Bill of Materials, รายงานสรุปรายชื่อแบบไฟฟ้า Drawing List, รายงานชุดสายเคเบิล Cable Wiring List, รายงานการเข้าสายเทอร์มินอลบล็อก Terminal List เป็นต้น
  • วิธีสร้างไฟล์สำหรับรายการเบอร์สายไฟ เพื่อส่งไปพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์ไวร์มาร์คเกอร์
    >> workshop ทดลองสร้างรายงานประเภทต่างๆ จากไฟล์โครงการตัวอย่างและไฟล์โครงการที่สร้างขึ้นเอง
    การสร้างแบบหน้าตู้ควบคุมและแบบจัดวางอุปกรณ์จริง Panel Layout Drawing
  • วิธีกำหนดสเกลให้กับแบบ Panel Layout, เทคนิคและวิธีกำหนดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเขียนแบบ Panel Layout
  • วิธีสร้างเส้นบอกขนาด Dimension, วิธีสร้าง ตู้ควบคุม, Wire Duct และ DIN Rail, วิธีสร้าง Push Button, Pilot Lamp พร้อม NamePlate
  • วิธีสร้างเทอร์มินอลบล็อกแบบอิสระและแบบเชื่อมกับแบบผังวงจร Schematic
  • วิธีสร้างรายงานถอดแบบอุปกรณ์จากแบบจัดวางอุปกรณ์จริง
    >> workshop ทดลองสร้างแบบตู้ควบคุม , Wire Duct และ DIN Rail
    >> workshop ทดลองสร้างแบบวางอุปกรณ์จริงของ Pilot Lamp, Pushbutton, NamePlate , Magnetic และ Relay
    >> workshop ทดลองสร้างแบบวางอุปกรณ์จริงของ Terminal Strip
    การสร้างแบบระบบควบคุมโปรเซส P&ID (Piping & Instrumentation Diagram)
  • ทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแบบ P&ID และมาตรฐาน ISA
  • รู้จักกลุ่มสัญลักษณ์ต่างๆ อุปกรณ์ P&ID และข้อกำหนดเบื้องต้นของมาตรฐาน ISA
  • ระเบียบวิธีและขั้นตอนการสร้างแบบ P&ID ดัวยโปรแกรม AutoCAD Electrical 2009
  • วิธีเรียกเมนูสัญลักษณ์อุปกรณ์ P&ID จากโปรแกรม AutoCAD Electrical
  • วิธีเขียนแบบอุปกรณ์หลัก และอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ, วิธีเขียนแบบท่อ/วิธีกำหนดทิศทางของไหล
  • วิธีเขียน/วิธีกำหนดสายสัญญาณควมคุมต่างๆ, วิธีกำหนดและแก้ไขค่ารหัสกำกับอุปกรณ์หลักและอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ
  • วิธีใช้เครื่องมือช่วยต่างๆ และเครื่องมือคำนวณอัตโนมัติต่างๆ ในการเขียนแบบ P&ID
  • วิธีสร้างรายงานอัตโนมัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบบ P&ID Diagram >
    >> workshop ทดลองสร้างแบบ P&ID Diagram